วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

รวมเว็บไซต์รายงานสถานการณ์และข้อมูลน้ำท่วม


ได้รวบรวมเว็บไซต์ที่มีประโยชน์มากในยามนี้ เพื่อช่วยให้เข้าถึงข่าวสารเกี่ยวกับมหาวาตภัยที่กำลังคืบคลานเข้าเขตกรุงเทพมหานครได้สะดวกและรวดเร็ว หวังว่าบล็อกนี้จะช่วยให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลข่าวสารที่ช่วยในการตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม ทันเหตุการณ์ และปลอดภัย

1. (จุฬาฯ) ระบบสารสนเทศประเมินความเสี่ยงภัยน้ำท่วม
ระบบออนไลน์เพื่อประเมินระดับความเสี่ยงภัยน้ำท่วม

2. กรมแผนที่ทหาร
มีแผนที่ และข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์มากมาย

3. Bangkok GIS โดยกรุงเทพมหานคร
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานและสถานการณ์น้ำท่วม และข่าวล่าสุด

4. Flood Helps
รวบรวมข้อมูลหน่วยอาสาช่วยบรรเทาภัยน้ำท่วม ทรัพยากรที่ต้องการ

5. (gamling.org) ช่วยกันเฝ้าระวังน้ำท่วม
ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และ Google Maps ในการรายงานสถานการณ์น้ำท่วม

6. แผนที่น้ำท่วม โดย ESRI Thailand
มีข้อมูลภูมิสารสนเทศหลาย layer และข้อมูลจาก Social media

7. รู้ทันน้ำ
มีแผนที่ประเมินระดับน้ำท่วมเป็นเซนติเมตรในแต่ละเขตพื้นที่

8. thaiflood.com
ศูนย์ข้อมูลเพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

9. สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร
ข้อมูลและข่าวสารเกี่ยวกับการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร

10. สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
ข่าวสถานการณ์น้ำท่วม แผนที่สถานการณ์น้ำท่วม

11. กรมทางหลวง
ตรวจสอบสถานการน้ำท่วมทางหลวง

12. ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ)
ศูนย์เฉพาะกิจของรัฐบาลเพื่อประสานงาน แก้ปัญหา ฯลฯ เกี่ยวกับน้ำท่วมครั้งนี้

13. ศูนย์รวมข้อมูลอุทกภัยไทย (EGA)
ศูนย์ข่าวสถานการณ์น้ำท่วมโดยภาครัฐ

14. Thai Crisis Flood Report (โดยทีมงานจุฬาและเครือข่าย) 1 | 2
ตรวจดูสถานการณ์ หรือรายงานสภาพน้ำท่วม

15. กรมทางหลวงชนบท
ระบบบริหารและจัดการอุทกภัย เพื่อดูสถานการณ์ หรือรายงานข้อมูล

เบอร์โทรศัพท์ที่มีประโยชน์ในสถานการณ์น้ำท่วมนี้
  • สำนักนายกรัฐมนตรี 1111
  • ศูนย์กทม. 1555
  • สายด่วน ปภ. (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) 1784
  • บริการแพทย์ฉุกเฉิน 1669
  • ศูนย์ปฏิบัติการการไฟฟ้านครหลวง 1130
  • สายด่วนกระทรวงคมนาคม 1130
  • สายด่วนกรมทางหลวง 1586
  • สายด่วนกรมทางหลวงชนบท 1146
  • ตำรวจทางหลวง 1193
  • ขอความช่วยเหลือ-พื้นที่น้ำท่วมกับไทยพีบีเอส 02-790-2111 หรือ SMS มาที่ 4268822
  • ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ 02-243-6956
  • ศปภ. โทร.1111 กด 5

วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554

คนไทยรู้ล่วงหน้านานแค่ไหนว่าน้ำจะท่วมใหญ่ในปี 2554


รายงานที่คัดลอกจากเว็บไซต์ของกรมอุตุนิยมวิทยาต่อไปนี้มีคำตอบอยู่ในตัวเองแล้ว เชิญอ่านและตรึกตรองได้ครับ (รูปประกอบ credit -- www.thamai.net)


ภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทยปี พ..2554 (แหล่งที่มาhttp://www.tmd.go.th)

ในปีพ..2554 ประเทศไทยประสบปัญหากับภัยธรรมชาติที่รุนแรงบ่อยครั้งนับตั้งแต่เดือนมีนาคม
เป็นต้นมาโดยปกติสภาพอากาศของเดือนมีนาคมอยู่ในช่วงฤดูร้อนอากาศโดยทั่วไปจะร้อนอบอ้าวและมีฝนไม่มากนักแต่ในปีนี้หาเป็นเช่นนั้นไม่กลับกลายเป็นว่าบริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดเดือนและมีฝนตกในบางช่วงเนื่องจากอิทธิพลของบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนเป็นระยะๆ ในขณะเดียวกันมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณภาคใต้ตอนกลางทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกชุกหนาแน่นเกือบตลอดเดือนโดยมีฝนหนักถึงหนักมากต่อเนื่องในหลายพื้นที่ก่อให้เกิดอุทกภัยเป็นบริเวณกว้างและรุนแรงเป็นประวัติการณ์ในบริเวณจังหวัดชุมพรสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราชสงขลา พัทลุง นราธิวาส ยะลาตรัง พังงา กระบี่ และสตูลนอกจากนี้ยังมีรายงานดินโคลนถล่มในจังหวัดชุมพรสุราษฎร์ธานีตรังและกระบี่โดยปริมาณฝนรวมทั้งประเทศของเดือนมีนาคมปีนี้มากที่สุดในรอบ36 ปี(..2519-2554)และหลายพื้นที่มีปริมาณฝนมากที่สุดใน24 ชั่วโมงสูงกว่าสถิติเดิมและอุณหภูมิต่าสุดรายวันต่ากว่าสถิติเดิมที่เคยตรวจวัดได้ของเดือนเดียวกันสภาวะการณ์ที่เกิดขึ้นถือว่าผิดปกติจากที่เคยเป็น
ต่อมาในช่วงฤดูฝนปีนี้หลายพื้นที่ของประเทศไทยมีฝนตกสม่ำเสมอหลายพื้นที่ปริมาณฝนมากกว่าค่าปกติ 40-50% และในปีนี้ไม่มีฝนทิ้งช่วงอย่างที่เคยปรากฏอย่างไรก็ตามมีเพียงบางพื้นที่และเป็นพื้นที่ส่วนน้อยที่มีฝนน้อยในช่วงต้นฤดูแต่โดยภาพรวมแล้วประเทศไทยตอนบนมีฝนมากเกินความต้องการโดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ร่องความกดอากาศต่ำ พายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนผ่านและที่เคลื่อนเข้ามาใกล้อย่างต่อเนื่องลูกแล้วลูกเล่าโดยในเดือนมิถุนายน ได้รับอิทธิพลจากพายุโซนร้อน“ไหหม่า” (HAIMA)ที่เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนเมื่อวันที่24 แล้วอ่อนก่าลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเคลื่อนผ่านประเทศลาวและอ่อนกาลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณประเทศลาวเมื่อวันที่ 26จากนั้นได้เคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณจังหวัดน่านแล้วสลายตัวไปในวันเดียวกันพายุลูกนี้ส่งผลให้หลายจังหวัดบริเวณประเทศไทยตอนบนโดยเฉพาะภาคเหนือมีฝนตกหนักถึงหนักมากต่อเนื่องและบางพื้นที่มีปริมาณฝนมากที่สุดใน24 ชั่วโมงสูงกว่าสถิติเดิมที่เคยตรวจวัดได้ของเดือนเดียวกันโดยปริมาณฝนสูงสุดใน 24ชั่วโมงวัดได้335.2 มิลลิเมตรที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคาอ่าเภอปัวจังหวัดน่านเมื่อวันที่ 25และมีรายงานน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและดินถล่มในบริเวณจังหวัดแพร่เชียงราย พะเยา น่าน ตากและสุโขทัยมีผู้เสียชีวิตรวม 3รายประชาชนได้รับความเดือดร้อน105,703 ครัวเรือน411,573 คนพื้นที่เกษตรเสียหาย159,598ไร่(ที่มา:กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยณ วันที่ 4กรกฎาคม2554)

ต่อมาในช่วงปลายเดือนกรกฏาคมประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากพายุโซนร้อน “นกเตน”(NOCK-TEN) ซึ่งเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนผ่านประเทศลาวแล้วอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันก่อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณจังหวัดน่านในวันที่31และอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำและปกคลุมภาคเหนือของประเทศไทยบริเวณจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่อนสอนในเวลาต่อมาทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่นกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ปริมาณฝนมากที่สุดใน 24ชั่วโมงวัดได้ที่อ่าเภอเมืองจังหวัดหนองคายเมื่อวันที่ 30สูงถึง405.9 มิลลิเมตรซึ่งทำลายสถิติเดิมในรอบปีของจังหวัดหนองคายและมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอนน่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลกพิจิตร หนองคาย เลย อุดรธานีสกลนคร และนครพนม

เดือนสิงหาคมถึงแม้ไม่มีพายุเคลื่อนเข้ามาใกล้แต่ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และร่องความกดอากาศต่ำกำลังค่อนข้างแรงที่พาดผ่านประเทศไทยตอนบนทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่นเกือบตลอดเดือนโดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีรายงานฝนหนักถึงหนักมากเป็นระยะๆจนเกิดน้ำท่วมต่อเนื่องในหลายพื้นที่ส่าหรับเดือนกันยายนนอกเหนือจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และร่องความกดอากาศต่ำแล้วประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากพายุหมุนเขตร้อนอีก2 ลูกคือพายุโซนร้อน “ไห่ถาง”(HAITANG)โดยพายุนี้ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองเว้ประเทศเวียดนามในวันที่ 27แล้วอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน ก่อนเคลื่อนตัวผ่านประเทศลาว แล้วอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือของประเทศไทยในวันที่28

นอกจากนี้ไต้ฝุ่น“เนสาด” (NESAT)ได้เคลื่อนตัวผ่านอ่าวตังเกี๋ยขึ้นฝั่งเมืองฮาลองประเทศเวียดนามในขณะมีกำลังแรงเป็นพายุโซนร้อนในวันที่30ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากพายุทั้ง2 ลูกส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกชุกหนาแน่นโดยมีรายงานฝนหนักถึงหนักมากเป็นระยะๆต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมาและมีรายงานน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้างและต่อเนื่องในหลายพื้นที่บางพื้นที่น้ำท่วมอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนสร้างความเสียหายอย่างมากส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตทุกภาคส่วนและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศจากการประเมินความเสียหายของสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วประเทศในเบื้องต้นผู้ว่าการแบงค์ชาติกล่าวว่าได้สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมีมูลค่าประมาณ2 หมื่นกว่าล้านบาทหากสถานการณ์น้ำท่วมเกิดขึ้นกินระยะเวลาไม่เกินช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนปีนี้แต่หากยืดเยื้อจะสร้างมูลค่าความเสียหายมากกว่าที่ประเมินไว้(โพสต์ทูเดย์6 ..54)

ภัยพิบัติทางธรรมชาติพ..2554 ที่เกิดขึ้นนับได้ว่ารุนแรงที่สุดเท่าที่เคยปรากฏและเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ต่างๆของประเทศไทยตั้งแต่ต้นปีมาจนถึงเดือนกันยายนปรากฏว่าปริมาณฝนรวมทั้งประเทศสูงกว่าค่าปกติประมาณ 32% ซึ่งสูงกว่าทุกปีที่เคยตรวจวัดมาอันดับ 2ปีพ..2496 สูงกว่าค่าปกติ27 % และอันดับ3 ปีพ..2513 สูงกว่าค่าปกติ23 %แต่เมื่อพิจารณาเฉพาะช่วงฤดูฝน(พฤษภาคม - กันยายน)ปรากฏว่าปีนี้ พ..2554 ประเทศไทยมีปริมาณฝนมากกว่าค่าปกติ20.1 %อยู่อันดับที่3 ขณะที่ปี พ..2513 และพ..2499 ปริมาณฝนสูงกว่าค่าปกติ23.6 % และ20.7 % อันดับที่1 และ2 ตามลำดับ

ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นดังที่กล่าวมาแล้วเป็นภัยที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปีถึงเดือนกันยายนเท่านั้นตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไปจนสิ้นปี2554เรายังต้องระวังและเตรียมพร้อมกับอุทกภัยที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่องเนื่องจากเดือนตุลาคมพฤศจิกายน และธันวาคมคาดว่าปริมาณฝนจะยังคงมากกว่าค่าปกติไม่ว่าจะเป็นประเทศไทยตอนบนและภาคใต้ที่จะเข้าสู่ฤดูน้ำหลากต่อไปหลายพื้นที่ที่ประสบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติในปีนี้นับว่ารุนแรงที่สุดเท่าที่มีการบันทึกก็ว่าได้แต่สิ่งเหล่านี้จะเป็นบทเรียนในการเตรียมความพร้อมการปรับตัวและการวางแผนในอนาคตที่จะอยู่ได้ต่อไป
รายงานเขียนโดย ศูนย์ภูมิอากาศ สำนักพัฒนาอุตุนิยมวิทยา 10ตุลาคม2554 (http://www.tmd.go.th)

และ Blog...

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Message Shared from UTMcalc

Generated/shared with UTMcalc for Android:-

Title: Laan Gear
Tag: POI
Ellipsoid: WGS84
Desc: Thanon Henri Dunant, Pathum Wan, Bangkok 10330, Thailand
Lat(deg): 13.73675
Long(deg): 100.533689
Elev(m): 5
Northing(m): 1519139.60
Easting(m): 665828.75
Zone: 47
Hemisphere: N
Time stamp: 20110726T090603
Google static map: http://maps.google.com/maps/api/staticmap?center=13.73675,100.533689&markers=color:orange%7Clabel:1%7C13.73675,100.53369&zoom=18&size=400x400&maptype=hybrid&sensor=false


Sent from Yahoo! Mail on Android

Download UTMcalc


วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทำไมองค์กรภาครัฐหรือเอกชนจึงควรทำ Smart phone apps ออกเผยแพร่

ในปัจจุบันองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนต่างก็มีเว็บไซต์เป็นของตนเพื่อใช้เป็นช่องทางเผยแพร่ข่าวสาร หรือบริการไปสู่สังคมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ช่องทางดังกล่าวแม้ว่ามีปริมาณผู้ใช้มากขึ้นตามปริมาณของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งปกติใช้เว็บบราวเซอร์เป็นเครื่องมือในการเข้าถึง ขณะนี้มีวิธีการอื่นที่เป็นทางเลือกใหม่มีศักยภาพสูงสามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ขององค์กรเหล่านั้นได้เช่นกันและดีกว่าในบางเรื่อง สิ่งนี้เกิดขึ้นพร้อมกับ Smart phone และ Tablet computer รุ่นใหม่ที่ใช้ระบบปฎิบัตการ iOS, Android, WebOS ฯลฯ สิ่งนั้นคือ Apps หรือโปรแกรมประยุกต์ที่ติดตั้งเพื่อใช้งานบนอุปกรณ์สมัยใหม่เหล่านั้น มี Apps ประเภทนำเสนอเนื้อหาจำนวนมากที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นทางเลือกให้ผู้ใช้โทรศัพท์หรือแทบเล็ตติดตั้ง และใช้แทนวิธีการเดิม

จากการศึกษาค้นคว้าและทดลอง ทำให้พบเหตุผลหลายประการที่สนับสนุนว่าองค์กรภาครัฐหรือเอกชนที่มีเว็บไซต์อยู่แล้วควรทำ Smart phone apps ออกเผยแพร่เป็นอีกช่องทางหนึ่งด้วย เหตุผลต่าง ๆ มีดังนี้
  1. ในขณะเวลาหนึ่งผู้ใช้ที่มี Smart phone อยู่ในมือหรือในกระเป๋าและพร้อมที่จะใช้ Apps และเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมีจำนวนมากกว่าผู้ใช้คอมพิวเตอร์หลายเท่า ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในที่ทำงานหลายแห่งไม่สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ตามใจชอบ Apps ที่เหมาะสมจะเป็นช่องทางที่สามารถเข้าถึงผู้ใช้ได้อย่างสะดวก ทุกโอกาส และก่อให้เกิดความผูกพันระหว่างองค์กรและผู้ใช้ Apps ซึ่งเป็นลูกค้า สมาชิก หรือ ผู้สนใจได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น
  2. การเข้าถึงข้อมูลหรือบริการโดยเว็บบราวเซอร์เป็นประสบการณ์ที่คนส่วนใหญ่มีแล้ว ชินแล้ว ถ้ามีสิ่งที่ทำขึ้นเฉพาะเป็น Apps ที่ไม่เป็นภาระหรือเสี่ยง สามารถใช้แทนกันได้ดี จะเป็นสิ่งที่ใคร ๆ ก็อยากลอง โดยพฤติกรรมของผู้ใช้ Smart phone เมื่อเสียเงินซื้อในราคาสูงย่อมต้องใช้ให้คุ้ม และการอยากรู้อยากเห็นทำให้ต้องลองของใหม่ เช่น ผู้ใช้ Facebook มักจะใช้โปรแกรม Facebook for Android (iOS/ หรือ อื่น ๆ) ทั้ง ๆ ที่อยู่ไม่ห่างจากคอมพิวเตอร์ส่วนตัวในห้องทำงาน แต่บางโอกาสวิธีดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็น เช่น เมื่อต้องบอกพิกัดตำแหน่ง ต้องถ่ายรูปหรือวิดีโอคลิปแนบไปด้วย สิ่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือ Laptop ไม่สามารถตอบสนองได้
  3. ผู้ใช้โทรศัพท์แอนดรอยด์มักสนใจค้นหา Android Apps (ใช้คำสั่ง Find) ใน Android Market มากกว่าค้นหาสิ่งเดียวกันโดย Google search เพราะสิ่งที่จะพบคือของที่สดกว่า ใหม่กว่า เป็นสิ่งที่ทำขึ้นเฉพาะให้ใช้กับอุปกรณ์ที่เขากำลังถืออยู่ เมื่อสิ่งนั้นมีประโยชน์จริงจะทำให้เจ้าของรู้สึกว่าคุ้มกับการลงทุนซื้ออุปกรณ์นั้น ผู้ใช้ iPhone / iPad ก็มีพฤติกรรมคล้ายกัน
  4. (กรณีแอนดรอยด์) เมื่อใช้ Android Market ค้นหา Apps รายละเอียดเกี่ยวกับ Apps ที่เป็นเป้าหมายจะโหลดได้เร็วมาก สั่งให้ติดตั้งและเปิดใช้งานได้ในเวลาเพียงน้อยนิด สะดวกกว่าการค้นหาด้วย Google search ซึ่งจะค้นพบเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องเป็นส่วนใหญ่ ถ้าบังเอิญพบ Apps ที่ถูกใจและสนใจจะติดตั้ง Android Apps นั้น ก็ต้องกลับมายังเว็บเพจ Android Market เพื่อเลือกติดตั้ง (install) อยู่ดี
  5. Apps ที่จัดทำขึ้นสามารถทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการได้ดีกว่า เช่น เก็บข้อมูลในไฟล์ ต่ออินเทอร์เน็ต ส่ง SMS หาพิกัดตำแหน่ง ถ่ายรูป ฯลฯ สามารถเข้าถึงผู้ใช้เป็นราย ๆ และมอบข้อเสนอเป็นการเฉพาะให้กับแต่ละราย สามารถจัดให้มีเนื้อหาที่เป็น multimedia เช่น เพลง วิดีทัศน์ รวมอยู่ใน Apps หรือเป็น link ไปยังเนื้อหาดังกล่าว จัดให้ Apps ที่ติดตั้งแล้ว ต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อดาวน์โหลดเนื้อหาใหม่ทุกวัน และประกาศให้ผู้ใช้รู้เมื่อมีเรื่องสำคัญ

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Weather Stations in South-East Asia

Google Maps with Data from Google Fusion Table

Google Maps widget below was created from data stored in one of my Google Fusion Tables. You can click red markers on the map to pop up info-balloon in which you can read related information about those stations. Links to weather report pages specific to each of the stations are provided on the info-balloon. Here is the link to this Fusion Table that I published for public access.


This one is exclusively for weather stations in Thailand

You can find links to weather forecast pages on the pop-up balloon once you click the markers on this map.