
รายงานที่คัดลอกจากเว็บไซต์ของกรมอุตุนิยมวิทยาต่อไปนี้มีคำตอบอยู่ในตัวเองแล้ว เชิญอ่านและตรึกตรองได้ครับ (รูปประกอบ credit -- www.thamai.net)
ภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทยปี พ.ศ.2554 (แหล่งที่มาhttp://www.tmd.go.th)
ในปีพ.ศ.2554 ประเทศไทยประสบปัญหากับภัยธรรมชาติที่รุนแรงบ่อยครั้งนับตั้งแต่เดือนมีนาคม
เป็นต้นมาโดยปกติสภาพอากาศของเดือนมีนาคมอยู่ในช่วงฤดูร้อนอากาศโดยทั่วไปจะร้อนอบอ้าวและมีฝนไม่มากนักแต่ในปีนี้หาเป็นเช่นนั้นไม่กลับกลายเป็นว่าบริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดเดือนและมีฝนตกในบางช่วงเนื่องจากอิทธิพลของบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนเป็นระยะๆ ในขณะเดียวกันมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณภาคใต้ตอนกลางทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกชุกหนาแน่นเกือบตลอดเดือนโดยมีฝนหนักถึงหนักมากต่อเนื่องในหลายพื้นที่ก่อให้เกิดอุทกภัยเป็นบริเวณกว้างและรุนแรงเป็นประวัติการณ์ในบริเวณจังหวัดชุมพรสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราชสงขลา พัทลุง นราธิวาส ยะลาตรัง พังงา กระบี่ และสตูลนอกจากนี้ยังมีรายงานดินโคลนถล่มในจังหวัดชุมพรสุราษฎร์ธานีตรังและกระบี่โดยปริมาณฝนรวมทั้งประเทศของเดือนมีนาคมปีนี้มากที่สุดในรอบ36 ปี(พ.ศ.2519-2554)และหลายพื้นที่มีปริมาณฝนมากที่สุดใน24 ชั่วโมงสูงกว่าสถิติเดิมและอุณหภูมิต่าสุดรายวันต่ากว่าสถิติเดิมที่เคยตรวจวัดได้ของเดือนเดียวกันสภาวะการณ์ที่เกิดขึ้นถือว่าผิดปกติจากที่เคยเป็น
ต่อมาในช่วงฤดูฝนปีนี้หลายพื้นที่ของประเทศไทยมีฝนตกสม่ำเสมอหลายพื้นที่ปริมาณฝนมากกว่าค่าปกติ 40-50% และในปีนี้ไม่มีฝนทิ้งช่วงอย่างที่เคยปรากฏอย่างไรก็ตามมีเพียงบางพื้นที่และเป็นพื้นที่ส่วนน้อยที่มีฝนน้อยในช่วงต้นฤดูแต่โดยภาพรวมแล้วประเทศไทยตอนบนมีฝนมากเกินความต้องการโดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ร่องความกดอากาศต่ำ พายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนผ่านและที่เคลื่อนเข้ามาใกล้อย่างต่อเนื่องลูกแล้วลูกเล่าโดยในเดือนมิถุนายน ได้รับอิทธิพลจากพายุโซนร้อน“ไหหม่า” (HAIMA)ที่เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนเมื่อวันที่24 แล้วอ่อนก่าลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเคลื่อนผ่านประเทศลาวและอ่อนกาลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณประเทศลาวเมื่อวันที่ 26จากนั้นได้เคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณจังหวัดน่านแล้วสลายตัวไปในวันเดียวกันพายุลูกนี้ส่งผลให้หลายจังหวัดบริเวณประเทศไทยตอนบนโดยเฉพาะภาคเหนือมีฝนตกหนักถึงหนักมากต่อเนื่องและบางพื้นที่มีปริมาณฝนมากที่สุดใน24 ชั่วโมงสูงกว่าสถิติเดิมที่เคยตรวจวัดได้ของเดือนเดียวกันโดยปริมาณฝนสูงสุดใน 24ชั่วโมงวัดได้335.2 มิลลิเมตรที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคาอ่าเภอปัวจังหวัดน่านเมื่อวันที่ 25และมีรายงานน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและดินถล่มในบริเวณจังหวัดแพร่เชียงราย พะเยา น่าน ตากและสุโขทัยมีผู้เสียชีวิตรวม 3รายประชาชนได้รับความเดือดร้อน105,703 ครัวเรือน411,573 คนพื้นที่เกษตรเสียหาย159,598ไร่(ที่มา:กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยณ วันที่ 4กรกฎาคม2554)
ต่อมาในช่วงปลายเดือนกรกฏาคมประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากพายุโซนร้อน “นกเตน”(NOCK-TEN) ซึ่งเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนผ่านประเทศลาวแล้วอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันก่อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณจังหวัดน่านในวันที่31และอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำและปกคลุมภาคเหนือของประเทศไทยบริเวณจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่อนสอนในเวลาต่อมาทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่นกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ปริมาณฝนมากที่สุดใน 24ชั่วโมงวัดได้ที่อ่าเภอเมืองจังหวัดหนองคายเมื่อวันที่ 30สูงถึง405.9 มิลลิเมตรซึ่งทำลายสถิติเดิมในรอบปีของจังหวัดหนองคายและมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอนน่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลกพิจิตร หนองคาย เลย อุดรธานีสกลนคร และนครพนม
เดือนสิงหาคมถึงแม้ไม่มีพายุเคลื่อนเข้ามาใกล้แต่ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และร่องความกดอากาศต่ำกำลังค่อนข้างแรงที่พาดผ่านประเทศไทยตอนบนทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่นเกือบตลอดเดือนโดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีรายงานฝนหนักถึงหนักมากเป็นระยะๆจนเกิดน้ำท่วมต่อเนื่องในหลายพื้นที่ส่าหรับเดือนกันยายนนอกเหนือจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และร่องความกดอากาศต่ำแล้วประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากพายุหมุนเขตร้อนอีก2 ลูกคือพายุโซนร้อน “ไห่ถาง”(HAITANG)โดยพายุนี้ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองเว้ประเทศเวียดนามในวันที่ 27แล้วอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน ก่อนเคลื่อนตัวผ่านประเทศลาว แล้วอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือของประเทศไทยในวันที่28
นอกจากนี้ไต้ฝุ่น“เนสาด” (NESAT)ได้เคลื่อนตัวผ่านอ่าวตังเกี๋ยขึ้นฝั่งเมืองฮาลองประเทศเวียดนามในขณะมีกำลังแรงเป็นพายุโซนร้อนในวันที่30ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากพายุทั้ง2 ลูกส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกชุกหนาแน่นโดยมีรายงานฝนหนักถึงหนักมากเป็นระยะๆต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมาและมีรายงานน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้างและต่อเนื่องในหลายพื้นที่บางพื้นที่น้ำท่วมอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนสร้างความเสียหายอย่างมากส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตทุกภาคส่วนและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศจากการประเมินความเสียหายของสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วประเทศในเบื้องต้นผู้ว่าการแบงค์ชาติกล่าวว่าได้สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมีมูลค่าประมาณ2 หมื่นกว่าล้านบาทหากสถานการณ์น้ำท่วมเกิดขึ้นกินระยะเวลาไม่เกินช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนปีนี้แต่หากยืดเยื้อจะสร้างมูลค่าความเสียหายมากกว่าที่ประเมินไว้(โพสต์ทูเดย์6 ต.ค.54)
ภัยพิบัติทางธรรมชาติพ.ศ.2554 ที่เกิดขึ้นนับได้ว่ารุนแรงที่สุดเท่าที่เคยปรากฏและเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ต่างๆของประเทศไทยตั้งแต่ต้นปีมาจนถึงเดือนกันยายนปรากฏว่าปริมาณฝนรวมทั้งประเทศสูงกว่าค่าปกติประมาณ 32% ซึ่งสูงกว่าทุกปีที่เคยตรวจวัดมาอันดับ 2ปีพ.ศ.2496 สูงกว่าค่าปกติ27 % และอันดับ3 ปีพ.ศ.2513 สูงกว่าค่าปกติ23 %แต่เมื่อพิจารณาเฉพาะช่วงฤดูฝน(พฤษภาคม - กันยายน)ปรากฏว่าปีนี้ พ.ศ.2554 ประเทศไทยมีปริมาณฝนมากกว่าค่าปกติ20.1 %อยู่อันดับที่3 ขณะที่ปี พ.ศ.2513 และพ.ศ.2499 ปริมาณฝนสูงกว่าค่าปกติ23.6 % และ20.7 % อันดับที่1 และ2 ตามลำดับ
ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นดังที่กล่าวมาแล้วเป็นภัยที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปีถึงเดือนกันยายนเท่านั้นตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไปจนสิ้นปี2554เรายังต้องระวังและเตรียมพร้อมกับอุทกภัยที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่องเนื่องจากเดือนตุลาคมพฤศจิกายน และธันวาคมคาดว่าปริมาณฝนจะยังคงมากกว่าค่าปกติไม่ว่าจะเป็นประเทศไทยตอนบนและภาคใต้ที่จะเข้าสู่ฤดูน้ำหลากต่อไปหลายพื้นที่ที่ประสบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติในปีนี้นับว่ารุนแรงที่สุดเท่าที่มีการบันทึกก็ว่าได้แต่สิ่งเหล่านี้จะเป็นบทเรียนในการเตรียมความพร้อมการปรับตัวและการวางแผนในอนาคตที่จะอยู่ได้ต่อไป
และ Blog...